วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุปโครงงานรายบุคคล

กลุ่มที่ 11
โครงงาน Bad Smoke
โครงงานประเภท    อนิเมชั่น
จัดทำโดย  นาย ณัชวินท์  ธนอารักษ์  เลขที่ 8    ห้อง 5/12
               นาง ชิดชนก   รู้จำ          เลขที่ 23  ห้อง 5/12
               นาง สุธิดา      ศรชัย       เลขที่39   ห้อง 5/12
อาจารย์ที่ปรึกษา   อาจารย์กิตติมา  

          พวกเราทำการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับบุหรี่นี้เพราะเห็นว่าคนในปัจจุบันไม่ว่าจะวัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่มีการสูบบุหรี่กันเยอะ ทั้งจากการมีค่านิยมที่ผิดหรือจากปัญหาความเครียดต่างๆ  พวกเราจึงอยากจัดทำสื่ออนิเมชั่นเพื่อรณรงค์ให้ผู้คนเห็นถึงโทษของบุหรี่ ไม่ว่าจะกับที่เกิดขึ้นกับตัวเอง เช่น  ร่างกายทรุดโทรม  เป็นโรคมะเร็ง  เป็นต้น  กับคนรอบข้าง เช่น  บุหร่มือสอง  เป็นต้น หรือปัญหาที่ตามมาต่างๆ เช่น  ถ้าคุณมีครอบครัวแล้วเกิดคุณเป็นอะไรไป คนในครอบครัวจะเป็นยังไง  เป็นต้น
          พวกเราคาดหวังว่าสื่ออนิเมชั่นของพวกเราจะสามารถทำให้ผู้ที่ได้รับชมเกิดสำนึก  และรับรู้ถึงโทษภัยของบุหรี่แม้เพียงเล็กน้อยก็ยังดี
           โดยในการจัดทำอนิเมชั่นพวกเราได้ใช้โปรแกรมsony vegas pro13 ในการจัดทำอนิเมชั่น
ตัวอย่างโครงงานเรื่อง  ระบบจัดการแผนงานออนไลน์

ความเป็นมาของโครงงาน

            การใช้เทคโนโลยีแบบใหม่ จะช่วยพัฒนาการศึกษาให้ดีขึ้น จากการเรียนการสร้างผลงานด้านวิชาคอมพิวเตอร์ ทางกลุ่มสนใจในการสร้างสรรค์งานพัฒนาโปรแกรม โดยทางกลุ่มได้ทำการสอบถามเจ้าหน้าที่ฝ่ายงานโรงเรียน พบเจอปัญหาในการตรวจสอบการใช้งบประมาณของแต่ละโครงการของฝ่ายงานต่างๆ  ทางกลุ่มจึงนำเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์ ประเภทการประยุกต์การใช้งาน เรื่อง ระบบจัดการแผนงานออน์ไลน์

วัตถุประสงค์ของโครงงาน

            เพื่อพัฒนาโปรแกรมระบบจัดการแผนงานออนไลน์ โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา

ขอบเขตของการดำเนินการ

             การใช้งานของระบบจัดการแผนงานออนไลน์ของกลุ่มนโยบายและแผนงาน โรงเรียนสุราฎร์พิทยา

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

               - ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์

               - ข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนา

วิธีดำเนินการ

                1.พัฒนาโปรแกรมระบบแผนงานออนไลน์ด้วยภาษา PHP ตามผังงานที่ออกแบบไว้ และออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูล โดยจำลองเว็บผ่านโปรแกรม AppSever

                2.Upload ฐานข้อมูลและเว็บไซต์เข้าสู่ Server โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา

ผลการดำเนินการ

                 ระบบแผนงานออนไลน์สามารถแสดง Report ข้อมูลจำนวนเงินคงเหลือในแต่ละโครงการของฝ่ายงานและยอดรวมจำนวนเงินของทุกฝ่ายงาน

สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ

                 โครงงานคอมพิวเตอร์เรื่อง ระบบการจัดแผนงานออนไลน์  โดยได้ดำเนินการตามแนวทางการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ทั้ง 6 ขั้นตอน สามารถจัดทำระบบแผนงานออนไลน์ได้ ผ่านเว็บไซต์ของฝ่ายบริหารงานทั่วไป โดยผู้ใช้จะต้อง Login เข้ามาในระบบ โปรแกรมจะรับข้อมูลชื่อโครงการและรายละเอียดของกิจกรรม โครงการและยอดงบประมาณที่เหลือจากการหักค่าใช้จ่ายในแต่ละครั้ง  แสดงข้อมูลจำนวนเงินคงเหลือในแต่ละโครงการของกลุ่มงาน และสามารถแสดงยอดรวมจำนวนเงินทั้งหมดได้

เอกสารอ้างอิง

                   -โครงงานคอมพิวเตอร์

                   -ภาษา HTML

                   -โปรแกรมภาษา PHP

ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงโครงงาน

             -



ตัวอย่างโครงงานเรื่อง ปัญหารักในวัยเรียน

ความเป็นมาของโครงงาน

                   เห็นผู้ใหญ่กังวลใจกับความรักของวัยรุ่นมากกว่าวัยอื่นๆ จนคำว่า “รักในวัยเรียน”กลายเป็นพฤติกรรมที่ผิด ไม่สมควร เป็นสิ่งต้องห้ามในสายตาผู้ใหญ่

วัตถุประสงค์ของโครงงาน

                    ให้ผู้ใหญ่เปลี่ยนจากการ “ห้าม” มาเป็นการ “ถาม” แล้ว “ฟัง” เสียงของวัยรุ่น

ขอบเขตของการดำเนินการ

                     ทำเว็บบล็อกแสดงผลงาน และจัดทำสื่อหนังสั้น

วิธีดำเนินการ

                      ศึกษาข้อมูล  จัดทำบล็อก และทำสื่อหนังสั้น

ผลการดำเนินการ

                      ได้สื่อหนังสั้นเพื่อรณรงค์เรื่องปัญหาการท้องในวัยเรียน

สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ

           -

เอกสารอ้างอิง

           -

ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงโครงงาน

           -




ตัวอย่างโครงงานเรื่อง  สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน

ความเป็นมาของโครงงาน

                       ในยุคโลกาภิวัตน์ในปัจจุบันนั้นสถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ประเทศต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการรวมตัวกัน ในภูมิภาคเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขันระหว่างประเทศ อาเซียนจึงต้องปรับตัวให้เท่าทันสถานการณ์เพื่อให้สามารถรับมือกับความ เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วัตถุประสงค์ของโครงงาน

                       ให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับ ประชาคม อาเซียน โดยสร้างสื่อวีดีทัศน์นำเสนอ โดยใช้โปรแกรม Final cut pro ในการตัดต่อวีดีทัศน์ โปรแกรม Motion5 ใช้สร้าง Effect และโปรแกรม Adobe sound booth cs5 ในการบันทึกเสียง

ขอบเขตของการดำเนินการ

                      สร้างสื่อวีดีทัศน์เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ ประชาคมอาเซียน โดยใช้โปรแกรม Final cut pro ในการตัดต่อวิดีทัศน์โปรแกรมMotion5 ใช้สร้าง Effect และโปรแกรม Adobe sound booth cs5 ใน การบันทึกเสียง

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                      - ประชาคมอาเซียน

                      -การผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์

วิธีดำเนินการ

                      1.คิดหัวข้อโครงงานเพื่อน าเสนออาจารย์ที่ปรึกษา

                      2.ศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับโครงงานในการสร้างสื่อวีดีทัศน์

                      3.ศึกษาโปรแกรม Adobe audition ในการสร้าง

                     4.จัดทา โครงร่างโครงงานเสนออาจารย์ ที่ปรึกษา

                     5.ออกแบบสื่อวีดีทัศน์

                     6.จัดทำโครงงานสร้าง สื่อวีดีทัศน์ เรื่อง สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน

                    7. เผยแพร่ผลงานโดยการน าเสนอผ่านสื่อวีดีทัศน์

                    8. ทำเอกสารสรุปรายงานโครงงาน

ผลการดำเนินการ

                     การพัฒนาโครงงาน สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ที่ประเทศไทยได้เข้าร่วม และจะก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในพุทธศักราช 2558  คณะผู้จัดทำได้ดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานที่ไดว้างแผนไว้และได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านทางเครือข่ายระบบอินเทอร์เน็ต www.youtube.com ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ เป็นแหล่งเรียนรู้ใน โลกออนไลน์และรวดเร็วในการรับข้อมูล

สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ

                    การดำเนินงานโครงงานนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้คือเพื่อ เป็นสื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับ ประชาคมอาเซียน สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน เป็นสื่อวีดีทัศน์นา เสนอผ่านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต www.youtupe.com ที่มีทั้งภาพและเสียงสร้างความสนใจช่วยพัฒนาให้ความรู้ของผู้ชม มีความเข้าใจ เห็นความสำคัญของประชาคมอาเซียนที่จะเข้ามามีบทบาทในประเทศไทย สื่อวีดีทัศน์ เพื่อการศึกษาอาเซียน จึงเป็นสื่อที่มีประโยชน์เป็นการนา ซอฟต์แวร์มาพัฒนาประยุกต์ใช้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์

เอกสารอ้างอิง

                   -การผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์.สืบค้นเมื่อวันที่

                   -ประชาคมอาเซียน

                   -รู้จักประเทศอาเซียน ก่อนก้าวสู่ประชาคมอาเซียน 2558

ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงโครงงาน

          -

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บุหรี่มือสาม

นักวิจัยพบว่าสารพิษจากควันบุหรี่ยังคงตกค้างอยู่ตามกำแพง เพดาน ฯลฯ ภายในที่พักอาศัยของผู้สูบบุหรี่ ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้สัมผัส แม้ผู้อยู่อาศัยเดิมที่เป็นผู้สูบบุหรี่จะย้ายออกไปแล้ว สุขภาพของผู้ที่ย้ายเข้ามาอยู่ใหม่ แม้จะไม่สูบบุหรี่ ยังอาจถูกคุกคามจากสารพิษตกค้างดังกล่าวได้

สารพิษที่เรียกกันว่า ควันบุหรี่มือสามนี้ยังคงพบได้ตามพื้นผิวของสิ่งของภายในบ้าน ฝุ่น พรม แม้ผู้สูบบุหรี่จะย้ายออกไปเป็นเวลากว่าสองเดือนและบ้านได้รับการทำความสะอาดรวมทั้งทาสีใหม่แล้วก็ตาม บ้านพักอาศัยของผู้สูบบุหรี่เปรียบได้กับแหล่งเก็บกักสารพิษจากควันบุหรี่ที่พร้อมจะทำอันตรายผู้ที่เข้ามาอยู่ใหม่โดยไม่รู้ตัว



ทีมงานวิจัยจาก San Diego State University ได้ตรวจสอบที่พักอาศัยของผู้ไม่ได้สูบบุหรี่จำนวน 50 รายและของผู้สูบบุหรี่จำนวน 100 ราย ก่อนและหลังการย้ายออก โดยวัดระดับนิโคตินที่พบบนพื้นผิวภายในบ้าน ในอากาศ และบนนิ้วมือของผู้พักอาศัย รวมทั้งมีการตรวจหาสารโคตินินในปัสสาวะ ซึ่งเป็นตัวบอกถึงการได้รับสารเคมีจากควันบุหรี่

ข้อมูลที่ได้ระบุว่าฝุ่นและพื้นผิวในที่พักอาศัยของผู้สูบบุหรี่มีการปนเปื้อนของสารพิษจากควันบุหรี่เป็นปริมาณสูงกว่าเมื่อเทียบกับที่พักอาศัยของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ระดับของนิโคตินบนนิ้วของผู้อยู่อาศัยใหม่ที่ย้ายเข้ามาอยู่ในบ้านของผู้ที่สูบบุหรี่มีปริมาณสูงกว่าเช่นกัน ข้อมูลทั้งสองสอดคล้องกับระดับสารโคตินินที่ตรวจพบในปัสสาวะ

แม้จะยังไม่ได้มีการตรวจสอบผลกระทบของควันบุหรี่มือสามที่มีต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย แต่สารตกค้างดังกล่าวน่าจะมีผลต่อทารกและเด็กเล็กที่นอนเล่นบนพื้น หรืออยู่ในช่วงหัดคลาน หรือเด็กที่ชอบนำสิ่งของเข้าปาก ทั้งนี้ มีงานวิจัยก่อนหน้ารายงานว่าเด็กที่อาศัยในที่พักที่ไม่มีผู้สูบบุหรี่สามารถได้รับควันบุหรี่จากเพื่อนบ้านในอพาร์ทเมนท์เดียวกันที่ซึมผ่านมาทางกำแพงหรือตามระบบระบายอากาศในอาคารได้

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558

35 วิธีเลิกบุหรี่ ! ติดบุหรี่


                 การติดบุหรี่เป็นการเสพติด 3 ทางด้วยกัน คือ การติดสารนิโคตินในบุหรี่ เมื่อใดที่ขาดนิโคตินร่างกายจะเสียสมดุลทำให้เกิดอาการต่างๆ มากมาย เช่น กระสับกระส่าย หงุดหงิด นอนไม่หลับ ปวดหัว วิงเวียนศีรษะ อารมณ์ซึมเศร้า หดหู่ ไม่มีสมาธิ คิดอะไรไม่ออก ฯลฯ, การติดทางสังคมและสภาพแวดล้อม คนรอบข้างหรือเพื่อนเป็นปัจจัยสำคัญในการเริ่มต้นสูบบุหรี่ โดยเฉพาะวัยรุ่นที่อยากได้รับความยอมรับจากคนเพื่อนฝูง ทำให้สูบบุหรี่ต่อไปจนติดแล้วเลิกไม่ได้ และสุดท้ายคือ การติดทางพฤติกรรมและทางจิตใจ ซึ่งเป็นการเสพติดชนิดหนึ่ง โดยเกิดจากการเรียนรู้แล้วนำมาปฏิบัติจนเคยชิน เช่น เมื่อกินกาแฟจะต้องสูบบุหรี่ไปด้วย หรือมักสูบบุหรี่ในห้องทำงาน เมื่อเข้ามาทำงานก็จะเกิดความอยากสูบบุหรี่ เป็นต้น
                เป็นที่ทราบกันดีว่าโทษของการสูบบุหรี่นั้นมีสารพัด เช่น การสูญเสียเงินเป็นจำนวนมากโดยไม่ได้อะไรนอกจากสุขภาพเสียๆ มะเร็งปอด มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งหลอดลมและหลอดอาหาร มะเร็งช่องปาก ถุงลมโปร่งพอง กระเพาะ อาหารเป็นแผล ตับแข็ง โรคปริทันต์ ฟันเหลือง ตาแดง เล็บเขียว ความดันสูง โรคโพรงกระดูกอักเสบ อาการไอเรื้อรังและมีเสมหะมาก ฯลฯ ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อตัวผู้สูบบุหรี่แล้ว บุหรี่ยังส่งผลกระทบต่อคนรอบข้าง และทำให้สภาพแวดล้อมนั้นๆ เสียตามไปด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองก็เป็นสาเหตุสำคัญที่เป็นแรงกระตุ้นให้ผู้สูบบุหรี่จำนวนไม่น้อยอยากพยายามเลิกสูบโดยเด็ดขาด เพราะฉะนั้น วันนี้เราจึงมีวิธีการเลิกสูบบุหรี่มาฝากกัน ส่วนจะมีวิธีใดบ้างและจะยากสักแค่ไหน ไปดูกัน….

วิธีการเลิกสูบบุหรี่

  1. หากำลังใจ กำลังใจจากคนรอบข้างถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณมีความพยายามที่จะเลิกสูบบุหรี่ได้ คุณควรบอกให้คนใกล้ชิดทราบถึงความตั้งใจดังกล่าว
  2. ต้องมีเป้าหมาย เป้าหมายเป็นสิ่งสำคัญ คุณควรรู้ว่าจะทำไปเพื่อใคร หากคิดว่าอยากสูบบุหรี่ขึ้นมาเมื่อไหร่ ก็ขอให้คุณย้ำเตือนตัวเองอยู่เสมอว่าที่เลิกนั้นเพื่ออะไร เช่น เพื่อคนที่คุณรักและคนรอบข้าง เพื่อเก็บเงินในการสร้างอนาคต หรือเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น ฯลฯ แต่บางคนอาจถึงขนาดสาบานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพกันเลยทีเดียว แต่เชื่อไหมว่ามันเลิกได้จริง !
  3. เตรียมใจยอมรับ คุณควรค้นหาสาเหตุที่แท้จริงที่เป็นตัวกระตุ้นให้คุณสูบบุหรี่ เพื่อจะได้กับสาเหตุอย่างถูกวิธี เช่น สูบเพราะเครียด อยากเข้ากับเพื่อน งานเลี้ยง ดื่มเหล้า หรือเป็นแค่ความเคยชินหลังมื้ออาหาร ฯลฯ และต้องทำความเข้า
    และยอมรับอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการเลิกบุหรี่ เช่น กระวนกระวาย หงุดหงิด ง่วงเหงาหาวนอน เป็นต้น พร้อมกับให้กำลังใจตัวเองว่าอาการเหล่านี้มันจะผ่านไปได้ในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน
  4. ต้องวางแผน คุณควรวางแผนการปฏิบัติตัว โดยกำหนดวันที่จะเลิกสูบบุหรี่ โดยเลือกเป็นวันสำคัญต่างๆ ของครอบครัว เช่น วันเกิดตัวเอง วันเกิดลูกหรือคนในครอบครัว วันครบรอบแต่งงาน วันสำคัญทางศาสนา แต่ทั้งนี้ไม่ควรกำหนดวันที่ห่างไกลมากจนเกินไป หรือเป็นวันที่คุณมีภาระต้องรับผิดชอบ เช่น ช่วงสอบ ช่วงที่ต้องไปกินเลี้ยงหรือมีงานสังคม เพราะอาจมีแรงจูงใจทำให้ไม่สามารถเลิกได้ตามที่ตั้งใจไว้ หรือคุณอาจสร้างพิธีกรรมเล็กๆ สำหรับวันส่งท้ายด้วยการนำบุหรี่ที่เหลือมาเผาไฟต่อหน้าพร้อมกับกระดาษที่เขียนถึงโทษของการสูบบุหรี่สำหรับวันแรกของการเลิกบุหรี่
  5. เลิกในทันที – หักดิบ (Cold turkey) การเลิกขาดในทันทีจะได้ผลชะงัดกว่าการลดปริมาณการสูบ วิธีนี้ใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นการให้ผู้ติดบุหรี่เลิกสูบในทันทีโดยไม่ต้องมีการใช้ยาหรือความช่วยเหลือใดๆ โดยทั่วไปวิธีนี้อาการขาดนิโคตินจะหายไปได้เองภายในระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ ช่วงนี้อาจจะทนทรมาน และลำบากใจสุด แต่ก็ต้องอดทน ผ่านไปได้โอกาสเลิกได้ก็เป็นไปได้สูง อาการไม่สบายตัวต่างๆ ก็จะหายไป แต่ยังไงก็ยังดีกว่าทรมานอย่างช้าๆ ด้วยวิธีการลดปริมาณลงเรื่อยๆ จริงไหม ?
  6. ทำจิตใจให้เข้มแข็งไม่หวั่นไหว เมื่อถึงวันลงมือปฏิบัติ ควรตื่นนอนด้วยความสดชื่น หายใจให้เต็มปอดสัก 10 ครั้ง อย่างช้าๆ และปล่อยให้จินตนาการรู้สึกดีกับมวลอากาศบริสุทธิ์ พร้อมบอกกับตัวเองว่าคุณกำลังทำสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตนเองและคนรอบข้าง รวมถึงทบทวนเหตุผลที่ทำให้คุณตัดสินใจเลิกบุหรี่ ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ หันมาใกล้ชิดกับคนที่ไม่สูบบุหรี่ และหลังเลิกสูบบุหรี่มาอย่างน้อย 2-3 อาทิตย์ ก็อาจทำให้เกิดอาการอยากบุหรี่ขึ้นมาได้ วิธีที่สำคัญที่สุดในการเลิกบุหรี่อย่างถาวรก็คือการทำจิตใจให้เข้มแข็งและมีความเชื่อมั่นในตัวเองว่าเราสามารถเลิกบุหรี่ได้
  7. ทิ้งบุหรี่และที่เขี่ยบุหรี่ไปให้พ้นสายตา การจะเลิกทั้งทีก็ต้องจัดการให้เด็ดขาด อย่ารอช้าที่จะทิ้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ให้หมด ทิ้งได้ก็ต้องทิ้ง อย่าไปเสียดายครับ เพราะหากมีสิ่งยั่วยุเหล่านี้ขึ้นมาขวางตาขวางใจ ก็อาจทำให้ใจเราเขวได้ คิดซะว่าทำเพื่อสุขภาพแล้วกันเน๊อะ
  8. จัดการดูแลตัวเอง ในระยะแรกของการเลิกสูบบุหรี่ใหม่ๆ คุณอาจเกิดอาการอยากบุหรี่อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ เพราะเป็นการเสพติดมาจากพฤติกรรมการสูบเดิม ดังนั้นหากมีอาการอยากสูบ ก็ขอแนะนำให้รับประทานผลไม้รสเปรี้ยวหรือดื่มน้ำผลไม้ กินของขบเคี้ยว เคี้ยวหมากฝรั่ง อมลูกอม เคี้ยวไม้จิ้มฟัน อาบน้ำ แปรงฟัน หรือดมยาดมก็ได้ เพื่อช่วยทำให้ไม่รู้สึกอยากสูบบุหรี่ แต่ถ้ามีอาการกระสับกระส่ายและง่วงก็ให้นอนหลับไปเลย หรอไม่ก็ไปหาที่สงบๆ ออกไปสูดอากาศตามธรรมชาติ เปิดเพลงนุ่มๆ ฟังสบายๆ หาคนมานวดหลังและไหล่เพื่อให้เลือดลมหมุนเวียนดีขึ้น ถ้าทนไม่ได้ก็ให้หายางมารัดข้อมือไว้ เมื่อรู้สึกกระสับกระส่ายก็ให้ดีดยางรัดทันที ซึ่งความเจ็บจะดึงความคิดออกจากความอยากบุหรี่ได้ แม้จะเป็นวิธีที่เจ็บแต่ได้ผลนะเออ ส่วนสุรา ชา กาแฟ และน้ำอัดลมควรหลีกเลี่ยง เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดความอยากในการสูบบุหรี่มากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารมันจัด เผ็ดจัด หรือหวานจัด เพราะอาหารเหล่านี้มีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพจิต ทำให้อารมณ์แปรปรวนได้ง่าย และให้หันมารับประทานอาหารที่มีประโยชน์ถูกหลักโภชนาการแทน แต่สำหรับคนที่ติดการสูบบุหรี่หลังการรับประทานอาหาร เมื่อรับประทานอาหารเสร็จก็ควรจะรีบลุกออกจากโต๊ะอาหารทันที แล้วหันไปหากิจกรรมอื่นๆ ทำซะ
  9. ดื่มน้ำให้มากๆ คุณควรดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว เพราะการดื่มน้ำสามารถช่วยกำจัดสารนิโคตินออกจากร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ตอนตื่นนอนตอนเช้า หลังอาหารทุกมื้อ ช่วงระหว่างอาหาร และก่อนเข้านอน
  10. ไม่หมกมุ่นและไปหากิจกรรมทำซะ แน่นอนว่าเมื่อคุณไม่ได้สูบบุหรี่ คุณเองก็จะมีเวลาให้กับตัวเองมากขึ้น เพราะฉะนั้นอย่าปล่อยเวลาเหล่านี้ให้เปล่าประโยชน์ คุณควรเอาเวลานั้นมาหากิจกรรมที่คุณชื่นชอบมาทำ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายในแบบที่ตัวเองถนัดอย่างน้อยวันละ 15-20 นาที (เพื่อกระตุ้นร่างกายให้แข็งแรงและซ่อมแซมส่วนที่เสียหายจากภัยบุหรี่) อ่านหนังสือขำขัน การเล่มเกมเมื่อมีเวลาว่าง พูดคุยกับคนอื่นๆ หรือแต่งบ้านทำสวนก็ดูจะเข้าท่าไม่น้อย แถมยังช่วยผ่อนคลายความเครียดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย เพราะอย่าลืมว่ายังมีคนไม่สูบบุหรี่อีกมากที่หาวิธีคลายเครียดได้โดยไม่ต้องพึ่งบุหรี่
  11. หายใจลึกๆ ช้าๆ ติดต่อกัน โดยให้ทำต่อเนื่องกัน 5 นาทีทุกวัน ด้วยการหลับตาและสูดลมหายใจเข้าช้าๆ ด้วยจมูกจนเต็มปอด แล้วค่อยๆ ปล่อยออกอย่างช้าๆ ระหว่างทำให้คุณสร้างความรู้สึกดีตามไปด้วย พยายามจินตนาการถึงความรู้สึกที่แตกต่างของการไม่มีควันบุหรี่เข้ามาในชีวิต แต่ถ้ายังไม่รู้สึกก็ควรสร้างอุปทาน เช่น ลมหายใจหอมสดชื่นขึ้น รู้สึกเหนื่อยน้อยลงเนอะ หรืออะไรก็ตามที่เป็นสิ่งดีๆ จากการไม่สูบบุหรี่
  12. อาบน้ำหรือแช่น้ำอุ่นวันละ 2-3 ครั้ง โดยให้ทำครั้งละประมาณ 15-20 นาที หลังจากอาบน้ำอุ่นด้วยน้ำอุ่นแล้ว ควรตามด้วยการอาบด้วยน้ำเย็นเพื่อช่วยเพิ่มสดชื่นให้กับร่างกาย
  13. อยู่ให้ห่างจากสภาพแวดล้อมเดิมๆ คุณควรพยายามหลีกเลี่ยงไปยังสถานที่หรือช่วงเวลาที่คุณเคยสูบบุหรี่เป็นประจำ รวมไปถึงกิจกรรมต่างๆ ที่อาจทำให้คุณอยากสูบบุหรี่ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มกาแฟ ฯลฯ เพราะความเคยชินดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุทำให้คุณหวนกลับไปสูบบุหรี่อีกครั้ง ให้คุณลองหาสถานที่ใหม่ๆ บรรยากาศใหม่ๆ หรือไปเดินออกกำลังกายบ้างเล็กน้อยก็ช่วยได้เยอะ !
       
  14. อย่าใจอ่อนกับตัวเองเป็นอันขาด เชื่อว่าคงมีหลายคนที่บอกกับตัวเองว่า “อีกสักมวนคงไม่เป็นไร” หรือ “วันนี้สักหน่อยก่อนแล้วกัน พรุ่งนี้ค่อยเลิก” ฯลฯ รวมไปถึงการท้าทายตัวเอง โดยคิดว่ากลับไปลองสูบบ้างเป็นครั้งคราวคงไม่เป็นไร เหล่านี้ห้ามเด็ดขาด เพราะนั่นหมายถึงความพยายามที่คุณตั้งใจมาทั้งหมดนั้นมันจะสูญเปล่า ไม่มีค่า หรือเกิดประโยชน์ใดๆ กับคุณเลย คุณต้องใจแข็งและผ่านมันไปให้ได้
  15. อย่าละเลยแม้เพียงเล็กน้อย ขอให้คุณอย่ายอมแพ้หรือปล่อยให้โอกาสบางโอกาสนำคุณกลับไปสูบบุหรี่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนชวน สังคมของคุณ หรือมีสิ่งดึงดูดใจต่างๆ ขอให้คุณทำตามเป้าหมายของตัวเองให้สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ก็เป็นพอ
  16. ถ้าต้องสูบจริงๆ อย่าตอบสนองตัวเองทันที ให้ทำเล่นตัวสักประมาณครึ่งชั่วโมง แล้วค่อยสูบ เพื่อช่วยลดความกระวนกระวายที่ต้องทำทันทีเมื่อรู้สึกต้องการ และให้คุณลองเปลี่ยนมือที่ใช้คีบบุหรี่ เปลี่ยนชนิดบุหรี่ เปลี่ยนยี่ห้อที่คุณไม่ชอบ และจำกัดสถานที่ในการสูบให้เข้มงวด เช่น ถ้าจะสูบต้องสูบบนระเบียงชั้นสามขวามือและต้องสูบตอน 3 ทุ่มเท่านั้น
  17. อย่าท้อแท้ หากคุณต้องหันกลับไปสูบบุหรี่อีกครั้ง มันก็ไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นคนล้มเหลว อย่างน้อยคุณก็ได้เรียนรู้ถึงการที่จะปรับปรุงตัวเองในการเลิกสูบครั้งต่อไป ขอเพียงพยายามต่อไปที่จะเตรียมตัวสู้กับมันอีกครั้งและหยุดบุหรี่ให้ได้ อย่างน้อยๆ คุณลดปริมาณบุหรี่ที่เคยสูบได้มากกว่าเดิม
  18. การทำกิจกรรมกลุ่มพฤติกรรมบำบัด โดยเข้ารับการปรึกษาหรือรับคำแนะนำจากหน่วยงานที่เกี่ยวหรือแพทย์
  19. อาหารเลิกบุหรี่ อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงนั้นของผู้ติดบุหรี่นั้น ได้แก่ เครื่องดื่มจำพวก กาแฟ ชา และน้ำอัดลม (เพราะมีนิโคตินเช่นเดียวกับบุหรี่), เหล้าหรือแอลกอฮอล์ (ทำให้ลิ้นรับรสได้มากขึ้น) รวมไปถึงเนื้อสัตว์ (เนื่องจากตัวส่งเสริมการรับรสของผู้สูบให้ยิ่งสูบมากขึ้น) ส่วนอาหารที่จะช่วยทำให้อดบุหรี่หรือเลิกบุหรี่ได้นั้น มีดังนี้
    • ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น มะนาว ส้ม ฝรั่ง เสาวรส ก็ช่วยได้มาก เพราะการสูบบุหรี่ 1 มวน ร่างกายจะเสียวิตามินซีไปถึง 60 มิลลิกรัม หรือพอๆ กับส้ม 1 ลูก การดื่มน้ำผลไม้เหล่านี้จึงช่วยเพิ่มวิตามินซีให้กับร่างได้
    • ผักเขียวจัด โดยหลักแล้วแนะนำว่าผักยิ่งเขียวยิ่งดี เพราะนอกจากจะมีฤทธิ์สกัดความอยากบุหรี่แล้วยังมีคลอโรฟิลล์และสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยล้างพิษในร่างกายได้อีกด้วย
    • ถั่ว ไข่ อกไก่ อาหารทั้งสามนี้ทางมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์แนะนำให้ทานในผู้ที่ต้องการอดบุหรี่ เพราะอาหารเหล่านี้จะไปช่วยสร้างสารซีโรโทนิน (Serotonin) จะช่วยให้การเลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้น
    • นมสด จากการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้พบว่าเมื่อสูบบุหรี่แล้วจะทำให้กินอาหารบางอย่างไม่อร่อย โดยเฉพาะ “นมวัว” เลยอยากให้ท่านที่รักการดื่มนมวัวเข้าไว้ เผื่อจะทำให้เกิดความเบื่อบุหรี่ขึ้นมาบ้าง แต่ถ้าแพ้นมวัวคุณอาจจะเปลี่ยนมาเป็นนมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ตก็ได้ครับ
    • ปลา โอเมก้าสามที่มีอยู่ในปลานั้นสามารถช่วยลดการอักเสบจากพิษบุหรี่ในร่างกายได้ อีกทั้งในปลายังมีแอล-อาจินีน (L-arginine) ที่ช่วยขยายหลอดเลือดตามอวัยวะให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น
  20. วิธีเลิกบุหรี่ด้วยมะนาว จากผลวิจัยพบว่า วิตามินซีมีสารที่ช่วยลดความอยากนิโคตินได้ และยังช่วยฟื้นฟูร่างกายที่ทรุดโทรมให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่า จึงมีการนำมาใช้เพื่อเป็นตัวช่วยในการเลิกบุหรี่ วิธีการก็คือให้นำมะนาวมาล้างให้สะอาดแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ให้มีเปลือกติดมาด้วยขนาดเท่าหัวแม่มือ หรือพอดีคำ เมื่อรู้สึกอยากบุหรี่เมื่อไหร่ก็ให้กินมะนาวหั่นแทน โดยอมแล้วค่อยๆ ดูดเอาความเปรี้ยว จากนั้นเคี้ยวเปลือกอย่างช้าๆ ประมาณ 3-5 นาที แล้วดื่มน้ำตาม 1 อึก วิธีนี้นอกจากจะช่วยลดความรู้สึกอยากนิโคตินได้แล้ว เมื่อสูบบุหรี่จะทำให้รสชาติบุหรี่เปลี่ยนเป็นขมขนไม่อยากสูบ (ผลไม้รสเปรี้ยวอื่นๆ ก็ใช้ได้เช่นกัน แต่มะนาวจะได้ผลดีที่สุด) ซึ่งการเลิกบุหรี่ด้วยการกินมะนาวนี้ส่วนใหญ่จะเลิกบุหรี่ได้ใน 2 สัปดาห์ และจะไม่อยากสูบบุหรี่อีก เพราะร่างกายสามารถเอาชนะนิโคตินได้ แต่ในเรื่องของอาการทางใจบางครั้งอาจยังมีความต้องการอยู่บ้าง
      
  21. อาหารเสริมช่วยได้ ให้คุณหาอาหารเสริมจำพวกวิตามินบีรวมมารับประทานซะ จะในรูปแบบแคปซูลหรือแบบเม็ดก็ตามแต่ หรือจะทานจมูกข้าวสาลี (Wheat Germ) 1-2 ช้อนโต๊ะ ผสมกับนมสดหลังอาหาร เป็นต้น
  22. ของแบบนี้ไม่ลองไม่รู้ อย่างเช่น ยาดม ซึ่งบางคนถึงขนาดเลิกบุหรี่ได้ด้วยการดมยาดมโป๊ยเซียน !, การอมลูกอม อย่าง ฮอลล์คูล (เม็ดสีฟ้าเย็นสุดขั้ว), แปรงฟันบ่อยๆ เมื่อรู้สึกอยากบุหรี่, ถ้าแปรงฟันไม่ได้ก็ให้ดื่มน้ำเย็นจัด
  23. ชาเลิกบุหรี่ อีกตัวช่วยของคนที่อยากเลิกสูบบุหรี่อย่างจริงจัง เป็นชาชงดื่มที่มีส่วนผสมของหญ้าดอกขาว โปร่งฟ้า เปปเปอร์มิ้นท์ และสมุนไพรอื่นๆ มีสรรพคุณช่วยลดอาการอยากสูบบุหรี่ ทำให้สูบบุหรี่ได้น้อยลงเรื่อยๆ
  24. ชาบัวหิมะเลิกบุหรี่ เป็นใบชาธรรมชาติสายพันธุ์เฉพาะ ซึ่งมีกลิ่นหรือรสชาติคล้ายชา ทำให้ดื่มได้ง่าย ไม่ขม เหมาะกับผู้ติดบุหรี่ที่ต้องการจะเลิก เพราะต้องมีการดื่มตามปริมาณและระยะเวลาที่กำหนด (เห็นว่าตามสูตรคือต้อง 6 วันเท่านั้น ห้ามเกินกว่านี้ เพราะจะทำให้ผู้บำบัดเกิดอาการท้อใจและไม่ดื่มต่อได้) โดยผู้ติดบุหรี่จะต้องไม่ตามใจตนเอง โดยชาที่ดื่มจะช่วยในเรื่องของการขับล้างสารพิษในร่างกาย ช่วยปรับสมดุลของร่างกาย และช่วยสร้างภูมิต่อต้านสารเสพติดทุกชนิด โดยเฉพาะสารนิโคตินในบุหรี่ จากที่สืบราคาดูในเน็ตราคาจะตกกล่องละประมาณ 2,500-3,500 บาท คาดว่าคงใช้ได้ 6 วันพอดี (ภาพ : การเลิกบุหรี่.com)
  25. สมุนไพรเลิกบุหรี่ ใช้หญ้าดอกขาวทั้งต้นประมาณ 2-3 ต้น ใส่น้ำพอท่วมยา ต้มเดือด 10 นาที ใช้กินบ่อยๆ หรือจะใช้ในรูปแบบชาชงในขนาด 3 กรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารก็ได้, ใช้ผลจุกโรหินีผสมกับข้าวเย็นเหนือ, ส่วนผักกาดน้ำก็ยังใช้เป็นสมุนไพรเลิกบุหรี่ได้เช่นกัน
  26. หมากฝรั่งเลิกบุหรี่ (Nicotine chewing gum) อันนี้มีราคาค่อนแพงครับ รสชาติค่อนข้างแย่ บางคนถึงขนาดให้ฟรีก็ไม่เคี้ยว 555+ โดยหมากฝรั่งนี้จะช่วยลดอาการอยากสูบบุหรี่ ค่อยๆ เคี้ยวเมื่อพบว่ารสซ่าในปากให้หยุดเคี้ยว และรอให้นิโคตินดูดซึมผ่านทางเยื่อบุช่องปาก จนรสซ่าหายไปก็ให้เคี้ยวต่อ ให้ทำเช่นนี้ประมาณ 30 นาทีต่อเม็ด หลักการคือเป็นการให้สารนิโคตินในระดับต่ำ เพื่อระงับอาการขาดนิโคตินและระงับความอยากบุหรี่ ซึ่งจากสถิติพบว่าวิธีการใช้วิธีการดังกล่าวร่วมกับทำกิจกรรมกลุ่มและพฤติกรรมบำบัดจะช่วยทำให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น อย่างยี่ห้อที่เป็นที่นิยมจะเป็น นิโคมายด์ (nicomild-2) ราคาแพ็คละประมาณ 300-400 บาท (1 แพ็คมี 6 แผง ใน 1 แผงจะมี 9 เม็ด รวมแล้วมี 54 เม็ด ราคาเฉลี่ยเม็ดละ 6-8 บาท)
  27. แผ่นแปะนิโคติน หรือ แผ่นปิดผิวหนังนิโคติน (Nicotine patch) ใช้สำหรับทดแทนนิโคตินในบุหรี่ เพื่อลดอาการอยากสูบบุหรี่ ใช้โดยการปิดแผ่นยาลงบนผิวหนังบริเวณที่ไม่มีขน เช่น ต้นแขน คอ จนถึงสะโพกที่ปิดแผ่นยาทุกวันโดยติดตลอด 24 ชั่วโมง ราคาประมาณ 300-400 บาท (10 แผ่น)
      
  28. นิโคตินชนิดสูดทางปาก (Nicotine inhalation) นิโคตินรูปแบบนี้จะใช้ตามใบสั่งแพทย์เท่านั้น ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกจะมีลักษณะเป็นกล่องพลาสติกคล้ายกันมวนบุหรี่ใช้สำหรับสูด และอีกส่วนเป็นกระบอกสำหรับบรรจุผงนิโคติน เมื่อรู้สึกอยากบุหรี่ ก็ให้คีบกระบอกพลาสติกที่บรรจุนิโคตินไว้เรียบร้อยแล้วในลักษณะเดียวกับการคีบมวนบุหรี่ เมื่อสูดเข้าไปแล้วนิโคตินจะถูกดูดซึมอยู่แค่บริเวณปากและคอเท่านั้น ไม่ได้ลงลึกไปถึงปอดเหมือนกับการสูบบุหรี่และการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายก็จะน้อยกว่า ซึ่งวิธีนี้จะเหมาะกับคนที่มีการติดบุหรี่ทางด้านจิตใจมากกว่า
      
  29. นิโคตินชนิดสเปรย์พ่นจมูก (Nicotine nasal spray) ผู้ที่พยายามเลิกบุหรี่มาหลายวิธีแล้วแต่ไม่สำเร็จ อาจจะเลิกได้ด้วยวิธีนี้ แต่การใช้ในรูปแบบนี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์ นิโคตินรูปแบบนี้อาจไม่เหมือนกับรูปแบบอื่นๆ เนื่องจากนิโคตินจะสามารถดูดซึมและทำให้ระดับนิโคตินในกระแสเลือดใกล้เคียงกับการสูบบุหรี่อย่างรวดเร็ว จึงเป็นเหตุผลที่ว่ามักนิยมใช้ในบุคคลที่มีอาการอยากนิโคตินรุนแรง
  30. ลูกอมเลิกบุหรี่ หรือ ลูกอมนิโคติน (Nicotine lozenge) มีลักษณะคล้ายคลึงกับลูกอมทั่วไป ใช้อมครั้งละ 1 เม็ด (ใช้ไม่เกิน 20 เม็ดต่อวัน) นิโคตินจะค่อยๆ ถูกละลายออกมาอย่างช้าๆ ลูกอมเม็ดหนึ่งจะอยู่ได้ประมาณ 20-30 นาที (ห้ามกัดหรือเคี้ยวระหว่างอม)
      
  31. นิโคตินชนิดเม็ดอมใต้ลิ้น (Nicotine sublingual tablets) มีลักษณะเป็นเม็ด 1 เม็ด ประกอบไปด้วยนิโคติน 2 มิลลิกรัม วิธีใช้เพียงแค่วางเม็ดอมไว้บริเวณใต้ลิ้น (ห้ามกลืน ดูด หรือเคี้ยวเม็ดยา) จากนั้นนิโคตินจะค่อยๆ ถูกปล่อยออกมาอย่างช้า ซึ่งจะช่วยบรรเทาหรือระงับอาการถอนนิโคตินทำให้เกิดความมานน้อยกว่าการเลิกสูบบุหรี่ด้วยวิธีหักดิบ
  32. บุหรี่ไฟฟ้า (e-cigarette) สำหรับใครหักดิบไม่ไหว การใช้บุหรี่ไฟฟ้าก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งครับ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยบำบัดความต้องการนิโคตินในผู้ติดบุหรี่ได้ ช่วงที่สูบให้ค่อยๆ ปรับลดนิโคตินลงมาเรื่อยๆ จนสุดท้ายก็สูบแบบน้ำยาไม่มีนิโคติน แล้วก็จะเลิกสูบบุหรี่จริงได้ โดยไม่มีอาการโหยหา แต่บางคนใช้ไปใช้มากลับไปติดบุหรี่ไฟฟ้าแทนก็มีนะครับ ของแบบนี้จะเลิกหรือไม่ผมว่ามันขึ้นอยู่กับใจล้วนๆ ครับ
       
  33. ยาเลิกบุหรี่ เป็นการใช้กลุ่มยาที่ช่วยลดอาการถอนยา (Reduction of withdrawal) เช่น Bupropion, Nortriptyline, Clonidine, Fluoxitine, Doxepine, Buspirone, Lobeline เป็นต้น ซึ่งจะสามารถลดอาการอยากบุหรี่ได้ อย่างยาที่นิยม ก็ได้แก่ Quomem – โคเมม (1 กล่องมี 60 เม็ด ราคากล่องละประมาณ 1,650 บาท เฉลี่ยตกเม็ดละ 20-30 กว่าบาท) (ภาพ : pantip.com by อุปบารมี)
      
  34. การรักษาด้วยวิธีวิธีการอื่นๆ (แต่ยังพิสูจน์ผลไม่ได้ในการเลิกบุหรี่) เช่น การฝังเข็ม การสะกดจิต การใช้กระไฟฟ้ากระตุ้น การใช้เลเซอร์บำบัด เป็นต้น
  35. หาที่ปรึกษา นอกจากคุณจะขอคำปรึกษาและกำลังใจจากคนคนรอบข้างแล้ว คุณยังขอคำปรึกษากับคนรู้จักที่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จมาแล้ว คลินิกเลิกบุหรี่ สถานที่เลิกบุหรี่ หรือศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ (Thailand National Quitline) สายด่วน โทร.1600
หากใครที่เลิกสูบบุหรี่ได้แล้ว เชื่อเลยว่าหน้าตาของคุณจะดูสดใสขึ้น น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้นเพราะลิ้นสามารถรับรสได้ดีกว่าตอนไม่สูบบุหรี่ ส่งผลให้มีบุคลิกดี ไม่มีกลิ่นตัวและคราบเหลืองตามฟัน ฯลฯ เห็นไหมล่ะว่าการเลิกบุหรี่ได้นั้นจะทำให้ชีวิตคุณเปลี่ยนไปอย่างไม่น่าเชื่อเลยจริง แต่ถ้าใครกำลังอยู่ในช่วงของการเลิกสูบบุหรี่ ขอให้ลองนำวิธีเหล่านี้ไปใช้ดู และผมเองก็ขอเป็นกำลังใจให้คุณอย่ายอมแพ้และสู้ต่อไป ให้คิดซะว่าทำเพื่อคนที่คุณรักและเพื่อตัวเองก็แล้วกันนะ
หมายเหตุ : การให้นิโคตินทดแทน (Nicotine Replacement Therapy – NRT) คุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อขอคำแนะนำ และห้ามใช้นิโคตินทดแทนในหญิงตั้งครรภ์, ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรงหรือมีอาการปวดเค้นอกอย่างรุนแรง, ผู้ป่วยที่เพิ่งฟื้นจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย และห้ามสูบบุหรี่หรือใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีนิโคตินเป็นส่วนประกอบ เพราะอาจทำให้เกิดพิษได้
เรียบเรียงข้อมูลโดย ฟรินน์.คอม (ไม่อนุญาตให้คัดลอกเนื้อหาไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใด)
อ้างอิง http://frynn.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88/

สถานการณ์การสูบบุหรี่ของคนไทย

                         บุหรี่ ในพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 หมายถึง ยาเส้นหรือยาเส้นปรุง ไม่ว่าจะมีใบยาแห้งหรือยาอัดเจือปนหรือไม่ ซึ่งมวนด้วยกระดาษหรือวัตถุที่ทำขึ้นใช้แทนกระดาษหรือใบยาแห้งหรือยาอัด
โรคที่เกิดจาการสูบบุหรี่

      1 . โรคมะเร็ง ในอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น มะเร็งที่ปาก ที่ลิ้น ที่กล่องเสียง แต่ที่เป็นมากที่สุดคือ มะเร็งปอด สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา และกระทรวงสาธารณสุขแห่งสหรัฐอเมริกาได้รายงานผลวิจัย เมื่อ พ.ศ. 2521 ว่าผู้ที่สูบบุหรี่จัด มีโอกาสตายด้วยโรคมะเร็งมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ 20 เท่า
      2 . โรคทางเดินหายใจ ผู้สูบบุหรี่จัดมีอาการไอเรื้อรัง บางครั้งไอถี่มากจนไม่สามารถหลับนอนได้ แต่เมื่อหยุดสูบอาการจะบรรเทาและหายไปในที่สุด นอกจากนี้ทาร์ในควันบุหรี่จะสะสมอยู่ในปอด วันละเล็กวันละน้อย จนในที่สุด ถุงลมปอดโป่งพองจนไม่สามารถหดตัวกลับได้ มีผลทำให้ปอดไม่สามารถแรกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนได้มากเท่าเดิม จึงทำให้หายใจขัด หอบ และหากเป็นเรื้อรังอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ง่ายเช่นเดียวกันนอกจากนี้ยังพบว่าการสูบบุหรี่ทำให้เป็นโรคอื่นได้อีกหลายอย่าง เช่น โรคกระเพาะอาหารเป็นแผล โรคความดันเลือดสูง โรคตับแข็ง โรคปริทนต์ โรคโพรงกระดูกอักเสบ เป็นต้น และยังส่งผลต่อบุคลิกภาพของผู้สูบบุหรี่อีกด้วย

          สถิติการสูบบุหรี่ของคนไทย
สำนักงานสถิติแห่งชาติได้มีการสำรวจ การสูบบุหรี่ของคนไทยทั้งประเทศครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2519 พบว่า มีผู้สูบบุหรี่จำนวน ทั้งสิ้น 8.6 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 30.1 จากการสำรวจใน พ.ศ. 2544 พบว่า ประเทศไทยมีผู้สูบบุหรี่เป็นประจำจำนวน ทั้งสิ้น 10.6 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 20.6 ของประชากรที่มีอายุมากกว่า 11 ปี
พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากรไทย
ผลจากการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ปี 2554 พบว่าประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 53.9 ล้านคน เป็นผู้ที่สูบบุหรี่ 11.5 ล้านคน หรือร้อยละ 21.4 โดยเป็นผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ 9.9 ล้านคน(ร้อยละ 18.4) และเป็นผู้ที่สูบบุหรี่นานๆ ครั้ง 1.6 ล้านคน (ร้อยละ 2.9) โดยอัตราการสูบบุหรี่ของผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 20 เท่า คือร้อยละ 41.7 และ 2.1 ตามลำดับ เป็นผู้ที่อยู่นอกเขตเทศบาลมากกว่าในเขตเทศบาล 1.4 เท่า คือ ร้อยละ 23.5 และ 17.3 ตามลำดับ ดังภาพที่ 1
ภาพที่ 1 ตาราง จำนวนและร้อยละของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่สูบบุหรี่ จำแนกตามเพศ เขตการปกครองและอัตราการสูบบุหรี่ พ.ศ. 2554

ที่มา : สรุปการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2554 สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เมื่อพิจารณาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ ในช่วงปี 2544-2552 พบว่าอัตราการสูบบุหรี่มีแนวโน้มลดลง แต่ในปี2554 มีอัตราการสูบเพิ่มขึ้นจากปี 2552 คือจากร้อยละ 18.1 เป็นร้อยละ 18.4 โดยเพิ่มขึ้นในผู้ชายจากร้อยละ 35.5 เป็น 36.1 ส่วนผู้หญิงอัตราการสูบยังคงที่ ดังภาพที่ 2
ภาพที่ 2 แผนภูมิเปรียบเทียบอัตราการสูบบุหรี่ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปที่สูบบุหรี่เป็นประจำ จำแนกตามเพศ พ.ศ. 2544-2554


ที่มา : สรุปการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2554 สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
จากผลการสำรวจในปี 2554 พบว่า ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำมีอายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่ 17.9 ปี โดยมีอายุน้อยลง เมื่อเทียบกับปี 2550 (18.5ปี) และพบว่าทุกกลุ่มวัยมีอายุเริ่มสูบบุหรี่น้อยลง โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน(15-24 ปี) เริ่มสูบบุหรี่เมื่ออายุน้อยลงค่อนข้างมากกว่ากลุ่มอื่น คือจากปี 2550 เยาวชนเริ่มสูบบุหรี่อายุเกือบ 17 ปี และในปี 2554 ลดลงเป็น 16.2 ปี ดังภาพที่ 3
ภาพที่ 3 แผนภูมิเปรียบเทียบอายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปที่สูบบุหรี่เป็นประจำ จำแนกตามกลุ่มวัย พ.ศ. 2544-2554


ที่มา : สรุปการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2554 สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
จากการสำรวจพฤติกรรมของผู้ที่ปัจจุบันไม่สูบบุหรี่แต่ในอดีตเคยสูบเป็นประจำ พบว่า สาเหตุที่ทำให้เลิกสูบมากที่สุดเพราะ พบว่า ไม่ดีเลยตัดสินใจเลิกเอง (ร้อยละ 34.2) รองลงมา คือป่วย/เป็นโรคแล้วแพทย์แนะนำ ให้งดสูบบุหรี่ (ร้อยละ 28.2) และสามี/ภรรยา/ลูก ขอร้อง(ร้อยละ 14.8) ตามลำดับ ผู้ชายเลิกสูบบุหรี่มีสาเหตุเดียวกับที่กล่าวข้างต้น ในขณะที่ผู้หญิงเลิกสูบบุหรี่เพราะพบว่าไม่ดีเลยตัดสินใจเลิกเองมากที่สุด (ร้อยละ 37.3) ดังภาพที่ 4
ภาพที่ 4 แผนภูมิร้อยละของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปที่เคยสูบบุหรี่เป็นประจำ จำแนกตามสาเหตุสำคัญที่เลิกสูบบุหรี่ และเพศ พ.ศ. 2554

ที่มา : สรุปการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2554 สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ปัจจัยที่ส่งเสริมให้มีการเริ่มสูบบุหรี่
- ความอยากลอง ซึ่งเป็นธรรมชาติของวัยรุ่นที่ความอยากลองเป็นเรื่องที่ท้าทาย น่าตื่นเต้น และสนุกสนาน ถึงแม้จะทราบว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพก็ตาม
- ตามอย่างเพื่อน เริ่มสูบบุหรี่เพราะเพื่อนชวน บางคนมีเจตคติที่ว่า ถ้าไม่สูบบุหรี่จะเข้ากับเพื่อนไม่ได้ เพื่อนจะไม่ยอมรับเข้ากลุ่ม และหลายคนไม่กล้าเลิกสูบบุหรี่ เพราะกลัวเพื่อนจะล้อเลียน และไม่ให้เข้ากลุ่ม
- ยึดถือค่านิยมผิด ๆ คิดว่าการสูบบุหรี่เป็นการโก้เก๋ หรือเป็นลูกผู้ชาย
- สภาพแวดล้อมภายในครอบครัวชักนำ เกิดจากสมาชิกบางคนในครอบครัวสูบบุหรี่ เช่น พ่อ แม่ ลุง น้า จึงต้องการเอาเยี่ยงอย่าง
- เพื่อเข้าสังคม บางคนต้องสูบบุหรี่เพราะหน้าที่การงานที่ต้องเข้าสังคม งานเลี้ยงสังสรรค์หรืองานเลี้ยงรับรอง
- กระแสของสื่อโฆษณา สื่อโฆษณาต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมล้วนมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตคนอย่างมาก
- ความเชื้อที่ผิดๆ เช่น เชื่อว่าเมื่อสูบบุหรี่จะทำให้สมองปลอดโปร่ง จิตใจแจ่มใสและไม่ง่วงนอน เป็นต้น
- ความเครียด สารนิโคตินในควันบุหรี่เมื่อสูดเข้าร่างกายจะเข้าสู่สมองภายในเวลา ๘-๑๐ วินาที ซึ่งออกฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดแดงหดรัดตัว ความดันโลหิตสูงขึ้น หายใจเร็วขึ้น และกระตุ้นสมองส่วนกลางทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ในระยะต้น หลายคนจึงสูบบุหรี่ด้วยเหตุผลเพื่อคลายความเครียด แต่เมื่อปริมาณนิโคตินในสมองลดลง จะทำให้ผู้สูบเกิดอาการหงุดหงิด และเครียดได้ในเวลาต่อมา และนี่คือเหตุผลที่ทำให้ต้องสูบบุหรี่อยู่เสมอเพื่อคงระดับนิโคตินไว้ในร่างกาย
อ้างอิง http://www.thaihealth.or.th/Content/7706-%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2.html

วิดีโอเกี่ยวกับบุหรี่

อ้างอิงhttps://www.youtube.com/watch?v=zLIyhu1QcuM







อ้างอิง https://www.youtube.com/watch?v=E6FSpZzJxFM






อ้างอิง https://www.youtube.com/watch?v=1cqAaoyryYw





อ้างอิงhttps://www.youtube.com/watch?v=M9QUXaQDDs4

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558

อุบัติเหตุจากการใช้บุหรีไฟฟ้า


ต้องยอมรับว่าไฟฟ้ากำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายของเหล่าวัยรุ่นและสิงห์อมควัน ด้วยรสชาติที่หลากหลาย กลิ่นควันที่หอมหวาน ไม่เหม็นเหมือนบุหรี่ทั่วไปและพกพาสะดวก ทำให้หลายๆคนเลิกบุหรี่แบบเก่าหันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้ากันมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีหน่วยงานออกมาเตือนโทษของบุหรี่ไฟฟ้าว่ามีสารเคมีที่เป็นอันตรายและเสี่ยงเป็นมะเร็งมากกว่าบุหรี่ทั่วไป แต่ก็ไร้ผล เพราะหลายคนยังมีความคิดว่าคงใช้เวลาอีกตั้งนานกว่าที่อันตรายจากบุหรี่จะมาถึงตัวและเมื่อนั้นพวกเขาก็คงเลิกสูบมันไปนานแล้ว แต่ความคิดนี้อาจเปลี่ยนไปหากคุณได้ฟังเรื่องราวอีกมุมหนึ่งของบุหรี่ไฟฟ้า
บุหรี่ไฟฟ้านอกจากจะทำร้ายร่างกายของคุณให้ตายแบบผ่อนส่งแล้ว ผลของเทคโนโลยียังสร้างอุบัติเหตุให้คุณได้ทุกที่ทุกเวลา
ดั่งเช่นเหตุการณ์ต่อไปนี้ที่เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษ เมื่อมีชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อว่า นายเดวิด แอสพินอล ชาวอังกฤษวัย 48 ปี จากเมืองวีแกน ที่ถูกบุหรี่ไฟฟ้าระเบิดใส่จนทำให้เขาต้องเกือบเสียชีวิตและสูญเสียขาไปทั้งสองข้าง
ซึ่ง นายเดวิด แอสพินอล ได้เล่าว่า เขาได้เปลี่ยนพฤติกรรมจากากรสูบบุหรี่ธรรมดามาเป็นบุหรี่ไฟฟ้า เนื่องจากมีปัญหาด้านสุขภาพ แต่แล้วเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อขณะที่เขากำลังสูบบุหรี่ไฟฟ้าอยู่นั้น จู่ๆบุหรี่ไฟฟ้าก็เกิดร้อนขึ้นมา ทำให้ตนเองต้องรีบปล่อยมือจากบุหรี่ไฟฟ้าและเมื่อบุหรี่ไฟฟ้าตกลงสู่พื้น ก็ทำให้เกิดการระเบิดขึ้นอย่างรุนแรง เศษโลหะได้แตกกระจายไปทั่วห้อง และยังสร้างบาดแผลยาวลึกให้กับขาของเขาทั้งสองข้าง
แต่ในความโชคร้ายยังพอมีโชคดีอยู่บ้างที่เขาสามารถรอดมาได้ เพราะถ้าหากเศษโลหะระเบิดเข้าหัว อาจทำให้เขาไม่มีโอกาสมาเล่าเรื่องราวที่เป็นอุทาหรณ์ครั้งนี้ได้ แต่ที่น่าเสียใจห้องของเขาถูกเพลิงลุกไหม้จนเกือบเสียห้องไป
หลังจากบุหรี่ไฟฟ้าระเบิด เดวิด แอสพินอล ได้ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลต้องพักฟื้นเป็นเวลาประมาณ 6 วัน และต้องใช้เวลาประมาณ 3 ปี เพื่อฟื้นฟูผิวหนังที่ถูกปลูกถ่ายไปที่แผล เนื่องจากแผลของเขา รุนแรงเหมือนถูกปืนยิงใส่  
ทั้งนี้สาเหตุการระเบิดของบุหรี่ไฟฟ้า ทางฝ่ายสอบสวนเชื่อว่า อาจเป็นที่เครื่องชาร์จบุหรี่ที่น่าจะเป็นของปลอมทำให้บุหรี่ดังกล่าวมีอาการร้อนจัดขณะที่กำลังชาร์จไฟอยู่ จนกระทั่งถูกนำมาสูบ และเกิดเหตุดังกล่าว
อย่างไรก็ตามในประเทศไทย บุหรี่ไฟฟ้า ถือว่าเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ.การส่งออกไปนอก และการนำเข้ามาในราชอาณาจักร
อ้างอิง http://men.sanook.com/4209/